คำแนะนำและรายละเอียดสำหรับการยื่นคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (ในโควต้าประจำปี)
คุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ
1.ต้องถือหนังสือเดินทางของประเทศที่ตนเองถือสัญชาติอยู่ในปัจจุบัน และต้องได้รับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (NON-IMMIGRANT
VISA) พร้อมกับได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปีมาแล้ว รอบเวลาการพำนักอยู่ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ
2.เหตุผลในการยื่นคำขอ เช่น
(1) ขอเข้ามาเพื่อการลงทุน
(2) ขอเข้ามาเพื่อทำงาน
(3) ขอเข้ามาเพื่อเหตุผลทางมนุษยธรรม แบ่งเป็น มีความสัมพันธ์กับบุคคลสัญชาติไทย หรือ มีความสัมพันธ์กับบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่แล้ว ได้แก่
- เป็นสามี – ภรรยา
- เป็นบิดา – มารดา
- เป็นบุตรอายุต่ำกว่า 20 ปี ที่ยังไม่สมรส
(4) ขอเข้ามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
(5) กรณีพิเศษเฉพาะราย
การขอมีถิ่นที่อยู่ กรณีขอเข้ามาเพื่อการลงทุน(2550)
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
1.แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
2.ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
3.หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยใน ประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
4.สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส หรือ ทะเบียนสมรส, ใบสูติบัตร และ สำเนา ทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการ จดทะเบียนในประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา (เฉพาะในกรณีที่มีครอบครัวยื่นคำขอร่วมด้วย)
5.สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
6.ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติให้ทำงาน (ถ้ามี)
7.หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน สำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม และทุกหน้า (ถ้ามี)
8.หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง (ถ้ามี)
9.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน (ถ้ามี)
10.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ซึ่งรับรองสำเนา โดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร พร้อมใบเสร็จรับเงิน ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ (ถ้ามี)
11.หนังสือรับรองการโอนเงินเข้ามาในราชอาณาจักร จากธนาคารในประเทศไทย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท
12.หลักฐานการลงทุนในนามของผู้ยื่นคำขอ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ รวมกัน ไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ในกรณีดังนี้
(1) ลงทุนในบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัด ทั้งนี้ ต้องถือครองการลงทุนเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับ แต่วันที่ได้รับอนุญาตให้มีใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ - หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ) - บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ) - สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20 และสำเนา งบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ
(2) ลงทุนซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ ห้ามโอนกรรมสิทธิ์, จำนำพันธบัตร หรือ จำนำสิทธิเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ - หนังสือรับรองการซื้อพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว จากธนาคารในประเทศไทย - สำเนาพันธบัตรรัฐบาล หรือ พันธบัตรรัฐวิสาหกิจดังกล่าว และต้องนำต้นฉบับมาแสดงด้วย
(3) ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ เช่น หุ้นสามัญ หุ้นกู้ หรือ หน่วยลงทุน ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติ หรือ รับรอง จากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ทั้งนี้ ห้ามโอนหุ้น, โอนกรรมสิทธิ์, จำนำหลัก ทรัพย์ หรือ จำนำสิทธิเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกันนับแต่วันที่ได้รับใบสำคัญถิ่นที่อยู่ และต้องยื่นเอกสาร ดังนี้ - หนังสือรับรองการซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าว และหลักฐานการลงทุนดังกล่าว พร้อมต้นฉบับมาแสดง
13.แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
14.สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
15.แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถพิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
16.เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ
การขอมีถิ่นที่อยู่ กรณีขอเข้ามาเพื่อทำงาน (2550)
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
1.แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
2.ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
3.หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น หรือผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
4.สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส, ทะเบียนสมรส (คร.2), ใบสูติบัตร และ สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการจดทะเบียนใน ประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา (เฉพาะในกรณีที่มีครอบครัวยื่นคำขอร่วมด้วย)
5.สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
6.ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน ประทับตราบริษัทฯ และผู้มีอำนาจลงนามรับรอง
7.หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม และทุกหน้า
8.หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง
9.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
10.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร ตั้งแต่ต้นปี จนถึง เดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
11.หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
12.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
13.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และหากผู้ยื่นคำขอถือหุ้นตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ให้แนบบัญชีผู้ถือหุ้นย้อนหลัง 3 ปี มาแสดงด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
14.สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20
15.สำเนางบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงิน จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรอง สำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร
16.หนังสือธนาคารรับรองการส่งออกสินค้าในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ (เฉพาะกิจการที่มีการส่งออกสินค้า)
17.หนังสือรับรองการนำนักท่องเที่ยวเข้ามาในรอบ 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว (เฉพาะกิจการท่องเที่ยว)
18.นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
19.แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
20.สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
21.แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถ พิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
22.เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ
การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (2550)
กรณีเพื่อให้ความอุปการะ หรืออยู่ในความอุปการะของบุคคลผู้มีสัญชาติไทย
(สามี-ภรรยา, บิดา-มารดา หรือ บุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส)
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
1.แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
2.ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
3.หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
4.สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรส ,ทะเบียนสมรส (ค.ร.2) ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน, ใบสูติบัตร บุตร, เอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศ ให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการจดทะเบียนในประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา
5.สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสัญชาติไทย พร้อมทั้งนำต้นฉบับไปแสดงด้วย สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือหนังสือรับรองว่าผู้ยื่นคำขอกำลังศึกษาอยู่แล้วแต่กรณี
6.ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน ประทับตราบริษัทฯ และผู้มีอำนาจลงนามรับรอง
7.หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงานทุกเล่ม และทุกหน้า
8.หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง
9.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
10.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร ตั้งแต่ต้นปี จนถึง เดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
11.หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลบริษัทที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุ ไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
12.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะเป็นผู้ถือหุ้นอยู่ด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์และ มีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
13.สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ. 20
14.สำเนางบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงินของปีก่อนที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดย เจ้าหน้าที่ของสรรพากร (กรณีเป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำมาแสดง)
15.นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือ เอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
16.หนังสือรับรองจากธนาคาร พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากประจำของผู้ให้ความอุปการะ (ถ้ามี)
17.แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
18.สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
19.แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถ พิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ(ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสารขนาดเอ 4)
20.กรณีการยื่นอุปการะบุตรคนสัญชาติไทย ต้องนำหลักฐานการตรวจดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ ระหว่าง บิดา มารดา และบุตร ด้วย
21.กรณีการยื่นอุปการะคู่สมรสคนสัญชาติไทย หากจดทะเบียนสมรสไม่ถึง 5 ปี และมีบุตรด้วยกัน ต้องนำหลักฐานการตรวจ ดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง บิดา มารดา และบุตร ด้วย
22.กรณีคู่สมรสคนสัญชาติไทยมีบิดามารดา หรือคนใดคนหนึ่งเป็นคนต่างด้าว ให้แนบสำเนาใบสูติบัตรของคู่สมรสที่ผ่านการ รับรองจากเขต/อำเภอ พร้อมทั้งแนบสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ,ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ ทะเบียนบ้าน ของบิดามารดา ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ด้วย หากรายใดเสียชีวิตให้แนบสำเนาใบมรณะบัตรด้วย
23.กรณีคู่สมรสไม่สามารถมีบุตรได้ให้แนบใบรับรองแพทย์โรงพยาบาลรัฐบาล พร้อมระบุสาเหตุการไม่สามารถมีบุตรได้
24.เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ
การขอมีถิ่นที่อยู่ (2550)
กรณีเพื่อให้ความอุปการะหรืออยู่ในความอุปการะของ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแล้ว
(สามี-ภรรยา, บิดา-มารดา หรือ บุตรอายุต่ำกว่า 20 ปีที่ยังไม่สมรส)
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
1.แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
2.ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
3.หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย (เฉพาะผู้ยื่นคำขอที่มีอายุตั้งแต่ 14 ปีขึ้นไป)
4.สำเนาเอกสารรับรองการเป็นครอบครัว ได้แก่ ใบสำคัญการสมรสหรือทะเบียนสมรส ที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน, ใบสูติบัตรบุตร, สำเนาทะเบียนบ้าน เป็นต้น ซึ่งหากเป็นเอกสารต่างประเทศให้ผ่านการรับรองเอกสารเช่นเดียวกับ ข้อ 3. และหากเป็นการ จดทะเบียนในประเทศไทย ให้หน่วยงานนั้น ๆ รับรองสำเนา
5.สำเนาใบสำคัญถิ่นที่อยู่, ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว, หนังสือเดินทาง และสำเนาทะเบียนบ้านในประเทศไทยทุกหน้าที่มี รายการ ของผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแล้ว พร้อมทั้งนำต้นฉบับไปแสดงด้วย
6.สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
7.ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน ประทับตราบริษัทฯ และผู้มีอำนาจลงนามรับรอง
8.หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม และทุกหน้า
9.หนังสือรับรองเงินเดือนจากกิจการที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ซึ่งลงนามโดยผู้มีอำนาจลงนามในกิจการนั้น (ตามแบบที่กำหนด) , ย้อนหลัง 2 ปี (ดาวน์โหลดตัวอย่างหนังสือรับรอง) และ สัญญาการจ้าง
10.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีก่อนหน้าปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
11.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.1) ของผู้ให้ความอุปการะ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร ตั้งแต่ต้นปี จนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และ มีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
12.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่ผู้ให้ความอุปการะทำงานอยู่ จำนวน 3 ปีก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
13.บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น และหากผู้ยื่นคำขอถือหุ้นตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ให้นำบัญชีผู้ถือหุ้นย้อนหลัง 3 ปี มาแสดงด้วย (ฉบับคัดสำเนาจากกระทรวงพาณิชย์ และมีอายุไม่เกิน 3 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ)
14.สำเนาทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01, ภ.พ.09 และ ภ.พ.20) หรือ ภาษีธุรกิจเฉพาะ
15.สำเนางบการเงิน(งบดุล งบกำไรขาดทุน) พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 และใบเสร็จรับเงินของปีก่อนที่ยื่นคำขอ ซึ่งรับรองสำเนาโดย เจ้าหน้าที่ของสรรพากร (กรณีเป็นส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจ ไม่ต้องนำมาแสดง)
16.นิติบุคคลใด ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ให้สำเนาบัตรส่งเสริม หรือเอกสารที่แสดงว่าได้รับการส่งเสริมด้วย
17.หนังสือรับรองจากธนาคาร พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากประจำของผู้ให้ความอุปการะ (ถ้ามี)
18.แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
19.สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
20.แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถ พิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
21.กรณีบุตรมาอยู่ในความอุปการะของบิดาหรือมารดา หรือบุตรมาให้ความอุปการะบิดาหรือมารดา ต้องแนบหลักฐานการตรวจ ดีเอ็นเอ จากโรงพยาบาลของรัฐบาล แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุตรกับบิดาหรือมารดาด้วย แล้วแต่กรณี (เช่น บุตรขอมาอยู่ในความอุปการะของบิดาให้ตรวจดีเอ็นเอ ระหว่างบุตรกับบิดา หากบุตรขอมาอยู่ในความอุปการะของมารดา ให้ตรวจดีเอ็นเอระหว่าง บุตรกับมารดา เป็นต้น)
22.เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ
การขอมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร(2550) กรณีขอเข้าเป็นผู้เชี่ยวชาญ
เอกสารประกอบการขอมีถิ่นที่อยู่
1.แบบคำขอเพื่อมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร (แบบ ตม.9)
2.ใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาลรัฐบาล (ใบรับรองสุขภาพ อายุไม่เกิน 3 เดือน นับจนถึงวันที่ยื่นคำขอ)
3.หนังสือรับรองว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมจากประเทศที่ตนมีภูมิลำเนา โดยผ่านการรับรองจากกงสุลไทยในประเทศนั้น ๆ หรือ ผ่านการรับรองจากกงสุลของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย
4.สำเนาเอกสารแสดงคุณวุฒิการศึกษาของผู้ยื่นคำขอ ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี หรือ เทียบเท่าขึ้นไป ผ่านการรับรองจากกงสุล ของประเทศนั้น ๆ ในประเทศไทย แปลเป็นภาษาไทยและผ่านการับรองจากกระทรวงการต่างประเทศ
5.ใบสมัครงาน และหลักฐานการอนุมัติรับเข้าทำงาน รับรองโดยหน่วยงาน นั้น ๆ
6.หนังสือรับรองการผ่านงาน หรือ ประสบการณ์การทำงาน
7.หนังสือรับรองประวัติการทำงานจากสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน และสำเนาใบอนุญาตทำงาน ทุกเล่ม และทุกหน้า (ถ้ามี)
8.หนังสือรับรองการทำงานจากหน่วยงานที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ โดยให้ระบุรายละเอียดการทำงาน รายได้ต่อเดือน
9.สำเนาแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91 หรือ ภ.ง.ด.90) ของผู้ยื่นคำขอ พร้อมหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ทวิ ซึ่งรับรองสำเนาโดยเจ้าหน้าที่ของสรรพากร จำนวน 3 ปีจนถึงปีที่ยื่นคำขอ พร้อมใบเสร็จรับเงิน
10.สำเนาเอกสารการรับเงินรายได้ต่อเดือนจากหน่วยงานที่ผู้ยื่นคำขอทำงานอยู่ ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนก่อนหน้าที่ยื่นคำขอ
11.หนังสือสนับสนุนจากส่วนราชการ หรือ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง
12.หนังสือรับรองจากธนาคาร พร้อมสำเนาบัญชีเงินฝากประจำของผู้ยื่นคำขอ (ถ้ามี)
13.แผนที่แสดงสถานที่พำนักอาศัย และ สถานที่ทำงาน
14.สำเนาหนังสือเดินทางที่แสดงว่าได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี (ทุกเล่ม และทุกหน้า)
15.แบบประวัติบุคคล และแฟ้มระบุรายละเอียดเกี่ยวกับครอบครัว ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์การทำงาน ความสามารถพิเศษ การบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศไทย สถานที่ทำงาน ที่พักอาศัย พร้อมรูปถ่ายประกอบ (ให้ใช้แฟ้มโชว์เอกสาร ขนาด เอ 4)
16.เอกสารอื่น ๆ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นสมควรเรียกเพิ่มเติม
หมายเหตุ
- เอกสารใดเป็นเอกสารส่วนตัว ให้คนต่างด้าวรับรองสำเนาเอง
- เอกสารใดเป็นเอกสารของนิติบุคคล ให้รับรองโดยผู้มีอำนาจลงนามในนิติบุคคลนั้น พร้อมประทับตราสำคัญของบริษัท
- เอกสารใดเป็นภาษาต่างประเทศ ต้องแปลเป็นภาษาไทย และรับรองคำแปลโดยระบุรายละเอียด
ของผู้แปลที่สามารถตรวจสอบได้ และผ่านการรับรองการแปลจากกระทรวงการต่างประเทศ